เกี่ยวกับอาณาจักรกรีก



พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช มีพระชนมายุเพียง 33 พระชันษา 

พระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาเซดอนได้กรีฑาทัพมาถึงอินเดีย ในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 217 (ค.ศ. 326 ก่อนคริษต์ศักราช)  พระองค์ทรงนำทัพผ่านมาทางลุ่มน้ำสินธุ และรุกคืบถึงแคว้น ตักศิลา (Taxila) หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ดินแดนที่ได้ยึดครองทั้งหลายถูกแบ่ง และจัดสรรให้บรรดานายทัพนายกองปกครอง โดยดินแดนทางตะวันออกทั้งหมด ให้ขึ้นกับอาณาจักรกรีกแห่งใหม่ ซึ่งได้ถูกสถาปนาขึ้นที่ซีเรีย เรียกอาณาจักรแห่งนี้ว่า Seleucid มีเขตอาณาทางทิศตะวันออกไกลถึงลุ่มน้ำสินธุ 

ในยุคการปกครองของ พระเจ้าอันติโอชอสที่สอง (Antiochos II) แห่ง Seleucid ประมาณปี พ.ศ. 293 (ค.ศ. 250 ก่อนคริสต์ศักราช) ดิโอโดตอส (Diodotos) ชาวกรีก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองแคว้น แบคเตรีย (Bactria) ซึ่งตั้งอยู่เหนือ ฮินดูกูซ (Hindukush) 


อาณาจักรกรีกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งคลุมไปถึงอินเดียทางเหนือ

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าดิโอโดตอส พระราชโอรสได้สืบราชสมบัติ และใช้พระนามว่า ดิโอโดตอส (Diodotos) เหมือนพระนามของพระราชบิดา ในตอนปลายรัชการถูกแย่งชิงราชสมบัติ และถูกปกครองแทนที่ โดย พระเจ้ายูทีดีมอสที่หนึ่ง (Euthydemos I) สืบทอดราชสมบัติโดยราชโอรสทรงพระนามว่า พระเจ้าดีมีเตรียส (Demetrius) พระองค์ได้ขยายอาณาเขตจากแคว้นแบคเตรีย (Bactria) มาถึงอาฟกานิสถาน และปัญจาบ แต่ก็ถูก ยูคราติเดส (Eucratides) คู่ปรับแย่งชิงอำนาจได้อาณาจักร ดินแดนแคว้นแบคเตรีย ( Bactria) และแคว้น คันทาระ (Gandhara) คงเหลือแต่แคว้นอาฟกานิสถานและปัญจาบ ซึ่งพระเจ้าดีมีเตรียสยังทรงครอบครองอยู่ และได้สืบทอดดินแดนต่อมายัง พระเจ้าแพนทาเลี่ยน (Pantaleon) และ พระเจ้าอะกาโตเคิลส์ (Agathocles) 



อาณาจักร Indo-Greek Kingdom   หรือ พวก Bactria


จากนั้นก็สืบทอดมาถึง พระจ้าเมนันเดอร์ที่หนึ่ง (Menander I) พระองค์เป็นกษัตริย์ชาวกรีก (อินเดียเรียกชาวกรีกว่า ชาวโยนก Yanaga) พระองค์เดียวที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ของพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (มหายาน) พระยามิลิน เป็นตัวเอกของเรื่องในคัมภึร์ มิลินปัญหา (Milin-panha) หรือ มิลินสูตร พระเจ้าเมนันเดอร์ที่หนึ่งเป็นกษัตริย์ที่ทรงอำนาจมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ในบรรดากษัตริย์ของ อินโด-กรีก (Indo-Greek) ทั้งหลาย พระองค์ มิได้ปกครองแต่เฉพาะในแคว้นคันทาระและปัญจาบเท่านั้น ทว่ามีอำนาจเหนือแคว้นแบกเตรีย (Bactria) 

 เหรียญกษาปณ์ทองคำสเตเตอร์ (Stater)รูปพระจ้าเมนันเดอร์ที่หนึ่ง (Menander I) 

ยังได้กรีฑาทัพรุกรานลึกเข้าไปในดินแดนของอินเดียถึงลุ่มน้ำคงคา และได้แต่งตั้งบุคคลในอาณัติ อาทิ โพรีเซนัส (Polyxenus) และ อีแพนเดอร์ (Epander) ทำหน้าที่ ดูแลปกครอง และ บริหารดินแดนเหล่านั้น ความยิ่งใหญ่นี้ได้ถูกบันทึกโดยชาวตะวันตก ซึ่งในบรรดาบันทึกเหล่านั้นได้ระบุเฉพาะกษัตริย์ชาวกรีกที่ปกครองดินแดนในเอเชียเพียงสองพระองค์เท่านั้น ได้แก่พระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาเซดอน และพระเจ้าเมนันเดอร์ที่หนึ่ง แห่งอินโด-กรีก หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าเมนันเดอร์ที่หนึ่งและพระเจ้ายูเครติดัส อิทธิพลและอำนาจในการปกครองของอินโด-กรีก (Indo-Greek) เริ่มสั่นคลอนอ่อนแอ และล่มสลายในที่สุด 


บริเวณพื้นที่แคว้นคันธาราฐ หรือ คันธาระ (Gandhara)  เป็นชื่อเขตแคว้นและชื่อเมืองมาแต่โบราณตั้งอยู่ทาง ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย อยู่ใกล้บริเวณช่องเขาไคเบอร์ 


พระเจ้าเมนันเดอร์ที่หนึ่งเป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ชาวอินเดียว่า พระองค์เป็นนักปราชญ์ที่รอบรู้ในเรื่องของแนวคิดในขณะเดียวกันก็เป็นนักการทหารที่ยิ่งใหญ่ พระองค์เกิดที่เมือง Charikar ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมือง Kabul และแม่น้ำ Panjshir ซึ่งเป็นดินแดนเชื่อมต่อระหว่างแคว้น Bactria และอินเดีย พระเจ้าเมนันเดอร์ที่หนึ่งได้ชื่อว่าเป็นประมุขที่ยิ่งใหญ่น่าเกรงขามในดินแดนของชาวกรีก(ตะวันออก)และอินเดีย


พระเจ้าเมนันเดอร์  ตอนแรกพระองค์มิได้เลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้ขัดขวางพุทธศาสนาด้วยพระราโชบายต่าง ๆ อนึ่ง เนื่องจากพระองค์เป็นผู้แตกฉานในวิชาไตรเพทและศาสนาปรัชญาต่าง ๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย จึงได้เที่ยวประกาศโต้วาทีกับเหล่าสมณะพราหมณ์ ก็สามารถเอาชนะสมณะพราหมณ์เหล่านั้นรวมทั้งพระภิกษุในพุทธศาสนา ขนาดภิกษุสงฆ์พากันอพยพหนีออกจากนคร (ปัจจุบันอยู่ในเขตปากีสถาน) จนหมดสิ้น เมืองสาคละว่างภิกษุสงฆ์อยู่ถึง 12 ปี เลยทีเดียว